ค้นหา
  
Search Engine Optimization Services (SEO)

คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (อังกฤษ: Faculty of Political Science, Chulalongkorn University) เป็นส่วนราชการไทยระดับคณะวิชา สังกัดจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กระทรวงศึกษาธิการ ถือได้ว่าเป็นคณะวิชาที่เก่าแก่ที่สุดแห่งหนึ่งของประเทศ เป็นคณะรัฐศาสตร์แห่งแรกของประเทศไทย และเป็น 1 ใน 4 คณะแรกตั้งของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เปิดทำการเรียนการสอนทั้งในระดับปริญญาตรี ปริญญาโท และปริญญาเอก อีกทั้งยังเป็นคณะที่ได้รับการเลือกเข้าศึกษาจากผู้ที่ได้คะแนนสูงสุดจากการคัดเลือกบุคคลเข้าศึกษาต่อในระดับปริญญาตรีด้วยระบบ Admission ถึง 4 ปีซ้อน (2553 - 2556)

คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย นับว่าเป็นสถาบันการศึกษาที่เก่าแก่ที่สุดแห่งหนึ่งในประเทศไทย และเป็นคณะที่มีการเรียนการสอนวิชารัฐศาสตร์เป็นแห่งแรก ถ้าจะนับเวลาเริ่มก่อตั้งแต่สมัยเริ่มแรก เมื่อ พ.ศ. 2442 จนถึงปัจจุบัน สถาบันแห่งนี้มีอายุยาวนานถึง 117 ปี (พ.ศ. 2559)

คณะรัฐศาสตร์เริ่มก่อตั้งขึ้นเป็นครั้งแรกเมื่อ พ.ศ. 2442 (ร.ศ. 118) โดยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เริ่มจัดตั้งสถาบันการศึกษาแห่งนี้ขึ้นโดยพระราชทานนามว่า "โรงเรียนสำหรับฝึกหัดวิชาข้าราชการฝ่ายพลเรือน" โดยรับจากนักเรียนที่สอบผ่าน "ประโยคนักเรียน" มาแล้ว เข้าศึกษา "ประโยควิชา" ต่อเมื่อเรียนจบ "ประโยควิชา" แล้วจึงจะได้รับประกาศนียบัตรของโรงเรียน แล้วต้องออกฝึกราชการตามกระทรวงต่างๆ เพื่อสอบ "ประโยคฝึกหัด" ในขั้นสุดท้าย จึงจะถือว่านักเรียนผู้นั้นสำเร็จวิชาจากสถานศึกษาข้าราชการพลเรือนโดยสมบูรณ์ โรงเรียนนี้ได้เจริญขึ้นเป็นลำดับต่อมาจึงทรงพระราชทานพระบรมราชานุญาตให้นักเรียนในโรงเรียนนี้ถวายตัวเป็นมหาดเล็ก มีตำแหน่งเฝ้าทูลละอองธุลีพระบาทโดยใกล้ชิดและเข้าที่สมาคมในราชการให้มีความคุ้นเคยอีกด้วย

ในปี พ.ศ. 2445 (ร.ศ.121) พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงเปลี่ยนนามโรงเรียนสำหรับฝึกหัดวิชาข้าราชการฝ่ายพลเรือนเป็น "โรงเรียนมหาดเล็ก" โดยที่ทรงพระราชดำริเห็นว่า นักเรียนโรงเรียนนี้ถวายตัวเป็นมหาดเล็กทั้งสิ้น และตามประเพณีอันมีมาแต่โบราณข้าราชการ โดยมากยอมถวายตัวศึกษาราชการในกรมมหาดเล็กก่อนที่จะไปรับราชการในกรมอื่น จึงควรให้มีนามโรงเรียนสมแก่นักเรียนที่ได้เป็นมหาดเล็ก โรงเรียนนี้ได้เริ่มเปลี่ยนนามใหม่ เมื่อวันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2445 โดยมีสมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพ พระยาบุรุษรัตนราชพัลลภ พระยาวิสุทธ์สุริยาศักดิ์ (เจ้าพระยาพระเสด็จสุเรนทราธิบดี) และจมื่นศรีสรรักษณ์ (พระยาศรีวรวงษ์) เป็นกรรมการที่ปรึกษา และมีหมื่นศรีสรรักษ์ (พระยาศรีวรวงษ์) เป็นผู้อำนวยการโรงเรียน

ต่อมาในปี พ.ศ. 2453 (ร.ศ. 129) ในสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว มีพระราชดำริเห็นว่าการที่จะฝึกนักเรียนในโรงเรียนมหาดเล็กให้ออกมารับราชการในกระทรวงมหาดไทยแต่กระทรวงเดียวนั้นไม่เพียงพอ ควรที่จะขยายการศึกษาให้กว้างขวางยิ่งขึ้น เพื่อส่งผู้ที่สำเร็จการศึกษาออกไปรับราชการทุกกระทรวง ทบวง กรม และเพื่อเป็นอนุสาวรีย์เฉลิมพระปรมาภิไธยสมเด็จพระบรมชนกาธิราช พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานเงินให้เป็นทุนสำหรับจัดการโรงเรียนต่อไป และทรงพระราชกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เปลี่ยนนามโรงเรียนมหาดเล็กเป็นโรงเรียนข้าราชการพลเรือนพระราชทานนามว่า "โรงเรียนข้าราชการพลเรือนของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว" ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2453 โดยโรงเรียนนี้กำหนดระยะเวลาเรียน 4 ปี โดยเรียนในชั้นสอน 3 ปี และฝึกงานอีก 1 ปี ต่อมาในวันที่ 26 มีนาคม พ.ศ. 2459 ได้มีพระบรมราชโองการในพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดเกล้าฯ ให้สถาปนาโรงเรียนข้าราชการของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวขึ้นเป็น "จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย" ซึ่งเมื่อแรกตั้งได้แบ่งออกเป็น 4 คณะ คือ คณะแพทยศาสตร์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย(ปัจจุบันคือ คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล) คณะวิศวกรรมศาสตร์ คณะอักษรศาสตร์และวิทยาศาสตร์ และคณะรัฐฏประศาสนศาสตร์ (ชื่อแรกตั้งของคณะรัฐศาสตร์) ส่วนในด้านการศึกษายังเป็นไปในรูปเดิม นอกจากตำแหน่งผู้บังคับบัญชาโรงเรียนซึ่งแต่เดิมเรียกชื่อว่า ผู้อำนวยการโรงเรียนนั้น ได้เปลี่ยนมาใช้นามว่า คณบดี

ครั้งในปี พ.ศ. 2472 หลังจากที่ได้มีการประกาศใช้พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือนแล้ว ความนิยมในการเข้าศึกษาในคณะรัฐประศาสนศาสตร์ได้ลดน้อยลง ในปีดังกล่าวนี้มีนักเรียนที่กำลังศึกษาอยู่เพียง 35 คน เท่านั้น ทั้งนี้เนื่องจากผู้สำเร็จการศึกษาได้รับประกาศนียบัตรออกไปนั้น เมื่อเข้ารับราชการจะได้ตำแหน่งเพียงชั้นราชบุรุษเท่านั้น ซึ่งผู้ที่สำเร็จการศึกษาชั้นมัธยมปีที่ 5 ก็มีสิทธิสอบเข้ารับราชการในตำแหน่งนี้ได้แล้ว ส่วนนักเรียนที่ศึกษาจากคณะรัฐฏประศาสนศาสตร์ นอกจากจะสำเร็จชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 มาแล้ว ยังต้องศึกษาในคณะนี้อีกถึง 3 ปี ดังนั้น กระทรวงธรรมการจึงได้นำความทูลเกล้าฯ พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว เพื่อขอพระบรมราชานุญาตให้เลิกคณะนี้เสียเมื่อนักเรียนที่เหลืออยู่สำเร็จการศึกษาหมดแล้ว ซึ่งพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าฯ ได้มีพระบรมราชานุญาต

เมื่อกระทรวงธรรมการได้สั่งปฏิบัติการตามกระแสพระบรมราชโองการแล้ว ต่อมามีสมุหเทศาภิบาลและข้าราชการฝ่ายปกครองเป็นอันมากมาร้องทุกข์ว่าควรจะมีการสอนวิชานี้ต่อไป ทั้งกระทรวงมหาดไทยก็เล็งเห็นว่าจะขาดประโยชน์อย่างยิ่งถ้าขาดนักปกครองที่ผลิตจากคณะรัฐฏประศาสนศาสตร์ จึงได้มีการประชุมพิจารณาระหว่างคณะกรรมการดำริรูปการมหาวิทยาลัย ผู้แทนกระทรวงมหาดไทยและผู้แทน ก.ร.พ. (กรรมการพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน) ซึ่งที่ประชุมมีความเห็นพ้องกันว่าควรจะมีการสอนวิชานี้ต่อไป แต่ต้องเปลี่ยนแปลงหลักสูตรการศึกษาเสียใหม่และเปลี่ยนแปลงวิธีการรับนิสิตด้วย นอกจากนั้นได้เสนอความคิดเห็นให้เปลี่ยนชื่อคณะรัฐฏประศาสนศาสตร์ เป็นแผนกวิชาข้าราชการพลเรือน ซึ่งพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวมีพระราชานุญาตตามข้อเสนอ และให้ขึ้นตรงต่อผู้บัญชาการจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยและหัวหน้าแผนกคือ ผู้อำนวยการ ซึ่งมีฐานะเท่ากับคณบดี

ครั้นต่อมาเมื่อวันที่ 25 เมษายน พ.ศ. 2476 ได้มีพระบรมราชโองการในพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ให้ตั้งคณะนิติศาสตร์ขึ้นในจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โดยโอนโรงเรียนกฎหมายเข้าสมทบในคณะนิติศาสตร์ด้วย (ต่อมากลายเป็น คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์)

ในวันที่ 20 มีนาคม พ.ศ. 2476 ได้มีประกาศใช้พระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยวิชาธรรมศาสตร์และการเมือง พ.ศ. 2476 ซึ่งมาตรา 5 แห่งพระราชบัญญัติฉบับนี้บัญญัติว่า "ให้โอนคณะนิติศาสตร์และรัฐศาสตร์ในจุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย ตลอดจนทรัพย์สินและงบประมาณของคณะเหล่านี้มาขึ้นต่อมหาวิทยาลัยนี้ ก่อนวันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2477" เป็นอันว่าคณะรัฐฏประศาสนศาสตร์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยได้สิ้นสภาพลงตั้งแต่บัดนั้นเป็นต้นมา

ต่อมาในปี พ.ศ. 2491 รัฐบาลได้เล็งเห็นความสำคัญของการบริหารประเทศในอันที่จะได้ปฏิบัติราชการที่เพียบพร้อมไปด้วยบุคคลที่มีความรู้ความชำนาญในการปกครองและการบริหารให้มีจำนวนเพียงพอ จึงได้จัดตั้งคณะรัฐศาสตร์ขึ้นในจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยอีกครั้งหนึ่ง โดยตราพระราชบัญญัติจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ในวันที่ 18 สิงหาคม พ.ศ. 2491 หลังจากที่ได้ยุบเลิกไปเป็นเวลาถึง 15 ปีเศษ และก็ได้เจริญก้าวหน้ามาจนถึงทุกวันนี้

คณะรัฐศาสตร์พัฒนาอย่างเป็นขั้นตอน บุกเบิกความเป็นสมัยใหม่ทางวิชาการ ไม่เฉพาะในสาขารัฐศาสตร์ แต่ยังพัฒนาไปถึงในสาขาสังคมศาสตร์อื่นๆ ด้วย ในขณะนั้นมีวิชาด้านที่เปิดสอนอยู่หลายสาขา คือ การ ปกครอง การทูต รัฐประศาสนศาสตร์ การคลัง นิติศาสตร์ สังคมวิทยาและมานุษยวิทยา และประชากรศาสตร์ จนกระทั่งบางสาขาพัฒนามากขึ้นจึงจำเป็นต้องแยกตัวออกไปตั้งเป็นคณะใหม่ โดยแผนกวิชาการคลังรวมกับแผนกวิชาเศรษฐศาสตร์ของคณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชีตั้งเป็นคณะเศรษฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เมื่อ พ.ศ. 2513 และแผนกวิชานิติศาสตร์ ได้ยกฐานะขึ้นเป็นคณะนิติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เมื่อวันที่ 18 มิถุนายน พ.ศ. 2515 และแผนกสื่อสารมวลชนและการประชาสัมพันธ์ ได้ยกฐานะเป็นแผนกอิสระสื่อสารมวลชนและการประชาสัมพันธ์ และปัจจุบันคือคณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย นอกจากนั้น สถาบันประชากรศาสตร์ สถาบันวิจัยสังคมสถาบันความมั่นคงและนานาชาติ สถาบันพัฒนานโยบายและ การจัดการ และสถาบันเอเชียศึกษา ก็ได้ถือกำเนิดขึ้นจากคณะรัฐศาสตร์อีกด้วย

คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ตั้งอยู่บนพื้นที่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยฝั่งตะวันออกของถนนพญาไท ติดกับถนนอังรีดูนังต์ ติดกับสถานเสาวภา สภากาชาดไทย สามารถสังเกตกลุ่มอาคารของคณะได้จากศูนย์บริการโลหิตแห่งชาติ สภากาชาดไทย คณะรัฐศาสตร์ติดกับคณะอื่น ๆ ในจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย 2 คณะ คือ คณะเศรษฐศาสตร์และคณะวิศวกรรมศาสตร์ และยังตั้งอยู่ตรงข้ามกับคณะแพทยศาสตร์ โดยมีถนนอังรีดูนังต์ตัดขั้น

คณะรัฐศาสตร์ มีพื้นที่สีเขียว ลานสำหรับพักผ่อนและทำกิจกรรมหลายแห่ง อาทิ ลานไทร ลานโจ๊กก้า ซึ่งทั้งสองลานนี้อยู่ด้านหน้าและด้านหลังอาคารสำราญราษฎร์บริรักษ์ ภายในบริเวณคณะยังมีสนามฟุตบอลและสนามบาสเก็ตบอลด้วย

สัญลักษณ์ประจำคณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้แก่ "สิงห์ดำ" โดย "สิงห์" หมายถึง ผู้ปกครองดั่งราชสีห์ผู้เป็นจ้าวแห่งป่า และ "สีดำ" หมายถึง สีแห่งศอของพระศิวะที่ดื่มยาพิษเพื่อปกป้องมวลมนุษย์ ดังนั้น สิงห์ดำ จึงมีหมายความว่า "การเป็นนักปกครองจะต้องเสียสละเพื่อมวลชน" (Black is Devotion)

คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มีกลอนประจำคณะที่สืบทอดมาจากรุ่นสู่รุ่น เพื่อเป็นสัญลักษณ์และเป็นคติเตือนใจ โดยนิสิตจะรู้จักกันในชื่อ "กลอนสิงห์"

"เจ้าเป็นสิงห์เจ้าจงหยิ่งในสิงห์ศักดิ์ เจ้าเป็นนักรัฐศาสตร์องอาจหาญ กอปรกรรมดีให้จีรังยั่งยืนนาน มุ่งสมานใจรักสามัคคี จงรู้จักใช้วิชาหาประโยชน์ รู้จำแนกคุณโทษให้ถ้วนถี่ จงวางตนให้คนเห็นเป็นผู้ดี ถ้าเจ้ามีใจจริงเป็นสิงห์ดำ"

คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้จัดทำวารสารสังคมศาสตร์ขึ้น เพื่อเป็นการสนับสนุนการผลิตผลงานทางวิชาการ/งานวิจัย และเพื่อเผยแพร่ รวมทั้งเป็นสื่อความเคลื่อนไหว ความเปลี่ยนแปลง และความก้าวหน้าทางด้านสังคมศาสตร์ โดยเริ่มจัดพิมพ์วารสารฉบับแรกตั้งแต่ปี พ.ศ. 2504 เป็นต้นมาจนถึงปัจจุบัน เป็นเวลากว่า 54 ปี นอกจากนี้ห้องสมุดคณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยยังมีการจัดทำวารสารสังคมศาสตร์ฉบับย้อนหลังตั้งแต่ฉบับแรกเป็นแอพลิแคชั่นสำหรับดาวน์โหลดเพื่อเป็นฐานข้อมูลด้านสังคมศาสตร์สำหรับนิสิต คณาจารย์ และประชาชนทั่วไป

คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มีห้องสมุดประจำคณะที่มีชื่อเสียงเป็นอย่างมากถึงสองแห่งด้วยกัน คือ ห้องสมุดรูฟุส ดี. สมิธ และ ชำนาญ ยุวบูรณ์ และอีกแห่งชื่อว่า ห้องสมุดรูฟุส ดี.สมิธ. ถือได้ว่าทั้งสองแห่งเป็นหนึ่งในห้องสมุดด้านสังคมศาสตร์ที่ดีที่สุดในประเทศไทย

ห้องสมุดรูฟุส ดี.สมิธ. เดิมชื่อห้องสมุดคณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ก่อตั้งเมื่อประมาณปี พ.ศ. 2491 ตั้งอยู่ที่อาคารสำราญราษฎร์บริรักษ์ (ตึก 1) ในระยะเริ่มก่อตั้งในปี พ.ศ. 2494 ศาสตราจารย์รูฟุส แดเนียล สมิธ จากมหาวิทยาลัยนิวยอร์ก สหรัฐอเมริกา ซึ่งได้รับทุนฟูลไบรท์ให้มาสอนวิชาการปกครองเปรียบเทียบที่คณะรัฐศาสตร์ จุฬาฯ ได้ช่วยเหลือกิจการห้องสมุดโดยติดต่อขอบริจาคหนังสือ และวารสารทางด้านสังคมศาสตร์จากองค์การมูลนิธิและมหาวิทยาลัยต่างๆ ในสหรัฐอเมริกา นับเป็นการวางรากฐานกิจการห้องสมุดคณะรัฐศาสตร์ ทำให้เป็นห้องสมุดแห่งแรกในประเทศไทยที่เป็นแหล่งค้นคว้าสำคัญทางด้านสังคมศาสตร์ ต่อมาห้องสมุดได้ย้ายไปตั้งที่อาคารเกษมอุทยานิน (ตึก 3) และในปีพ.ศ. 2518 ได้ย้ายมาตั้งที่อาคารวิศิษฐ์ ประจวบเหมาะ ชั้น 1 จนถึงปัจจุบัน

35 ปี หลังจากมรณกรรมของศาสตราจารย์รูฟุส แดเนียล สมิธ ที่ประชุมกรรมการคณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มีมติเป็นเอกฉันท์ให้ตั้งชื่อ ห้องสมุดของคณะว่า "ห้องสมุดรูฟุส ดี.สมิธ." เพื่อเป็นเกียรติและเป็นที่ระลึกถึงพระคุณที่ท่านมีต่อคณะรัฐศาสตร์ โดยมีพิธีเปิดที่ห้องสมุดของคณะ ในวันศุกร์ที่ 25 มีนาคม พ.ศ. 2531

ตั้งแต่ก่อตั้งจนถึงปัจจุบัน ห้องสมุดของคณะรัฐศาสตร์ทั้งสองแห่งได้รับรางวัลรับรองจากหลายสถาบัน

หมายเหตุ คำนำหน้านามของผู้ดำรงตำแหน่งคณบดี และผู้รักษาการแทนคณบดี เป็นคำนำหน้านามตามตำแหน่งทางวิชาการในขณะนั้น


 

 

รับจำนำรถยนต์ รับจำนำรถจอด

ลีโอ กาเมซ ดัสติน ฮอฟฟ์แมน จักรพรรดินีมารีเยีย อะเลคซันโดรฟนาแห่งรัสเซีย โอลิมปิก 2008 กีฬามหาวิทยาลัยโลกฤดูร้อน ครั้งที่ 24 การก่อการกำเริบ 8888 วิทยาลัยเทคนิคภาคพายัพ ยุทธการแห่งบริเตน บีเซนเต เดล โบสเก โคเซ มานวยล์ เรย์นา เคซุส นาบัส คาบี มาร์ตีเนซ เฟร์นันโด โยเรนเต เปโดร โรดรีเกซ เลเดสมา เซร์คีโอ ราโมส ควน มานวยล์ มาตา บิกตอร์ บัลเดส ชูอัน กัปเดบีลา ชาบี ดาบิด บียา อันเดรส อีเนียสตา การ์เลส ปูยอล ราอุล อัลบีออล กัปตัน (ฟุตบอล) อีเกร์ กาซียัส สโมสรฟุตบอลบียาร์เรอัล 2000 Summer Olympics Football at the Summer Olympics Spain national football team Valencia CF S.L. Benfica Sevilla FC Villarreal CF Midfielder Defender (association football) เนวิลล์ ลองบัตท่อม เจ.เค. โรว์ลิ่ง แฮร์รี่ พอตเตอร์ (ตัวละคร) บ็อบบี ร็อบสัน สมเด็จพระราชาธิบดีโบดวงแห่งเบลเยียม แอนดรูว์ จอห์นสัน อิกเนเชียสแห่งโลโยลา เจ. เค. โรว์ลิ่ง เวสลีย์ สไนปส์ ฟิลิปที่ 3 ดยุกแห่งเบอร์กันดี ยอดเขาเคทู สมาคมเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ Munhwa Broadcasting Corporation โจ อินซุง ควอน ซัง วู ยุน อึนเฮ รักวุ่นวายของเจ้าชายกาแฟ อุซึมากิ คุชินะ มาเอดะ อัตสึโกะ คิม ฮีชอล เจสสิก้า ซิมพ์สัน จาง เซี๊ยะโหย่ว พิภพ ธงไชย วิมล ศิริไพบูลย์ มหาธีร์ โมฮัมหมัด บอริส เยลซิน ออกแลนด์ เรนโบว์วอริเออร์ ฝ่ายพันธมิตร เด่น จุลพันธ์ เคอิทาโร โฮชิโน แมนนี่ เมลชอร์ ผู้ฝึกสอน ไมเคิล โดมิงโก ก. สุรางคนางค์ นิโคล เทริโอ ซีเนอดีน ซีดาน เริ่น เสียนฉี โจเซฟีน เดอ โบอาร์เนส์ โอดะ โนบุนากะ แยกราชประสงค์ แคชเมียร์ วีโต้ แอฟริกัน-อเมริกัน Rolling Stone People (magazine) TV Guide อินสตาแกรม Obi-Wan Kenobi Saturday Night Live The Lego Movie Jurassic World Guardians of the Galaxy (film) Her (film) แอนนา ฟาริส จอมโจรอัจฉริยะ จอมโจรคิด ตัวละครในฮายาเตะ พ่อบ้านประจัญบาน ตัวละครในฮายาเตะ พ่อบ้านประจัญบาน ลุยจี กอนซากา ครีษมายัน เจริญ วัดอักษร อลิซ บราวน์ อินิโก โจนส์ กาแอล กากูตา

 

1
2
3
4
5
6
7
8
9
10
11
12
13
14
15
16
17
18
19
20
21
22
23
24
25
26
27
28
29
30
31
32
33
34
35
36
37
38
39
40
41
42
43
44
45
46
47
48
49
50
51
52
53
54
55
56
57
58
59
60
61
62
63
64
65
66
67
68
69
70
71
72
73
74
75
76
77
78
79
80
81
82
83
84
85
86
87
88
89
90
91
92
93
94
95
96
97
98
99
100
101
102
103
104
105
106
107
108
109
110
111
112
113
114
115
116
117
118
119
120
121
122
123
124
125
126
127
128
129
130
131
132
133
134
135
136
137
138
139
140
141
142
143
144
145
146
147
148
149
150
151
152
153
154
155
156
157
158
159
160
161
162
163
164
165
166
167
168
169
170
171
172
173
174
175
176
177
178
179
180
181
182
183
184
185
186
187
188
189
190
191
192
193
194
195
196
197
198
199
200
201
202
203
204
205
206
207
208
209
210
211
212
213
214
215
216
217
218
219
220
221
222
223
224
225
226
227
228
229
230
231
232
เลขมงคล รถยนต์ ทะเบียน ทะเบียนรถ เงินด่วน รับจำนำรถยนต์ จำนำรถยนต์ จำนำรถ 23180